วันพฤหัสบดีที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ความสำคัญของวันแม่

วันแม่ในประเทศต่าง ๆ

        วันแม่เป็นวันหยุดเพื่อเป็นเกียรติแก่แม่ๆ ทั้งหลาย ซึ่งวันแม่นั้นจะมีวันที่ต่างกันไปในแต่ละประเทศ แต่ความหมายของมันก็เหมือนกัน
          ประวัติ
        ว่ากันว่าวันแม่นั้นถูกกำหนดขึ้นโดยชาวอเมริกัน โดยผู้ที่พยายามเรียกร้องให้มีวันแม่ก็คือ แอนนา เอ็ม จาร์วิส คุณครูในรัฐฟิลาเดลเฟีย เธอได้ใช้เวลาเรียกร้องถึง 2 ปี จนประสบความสำเร็จใน ค.ศ. 1914 (พ.ศ. 2457) ในสมัยประธานาธิบดี วูดโรว์ วิลสัน ได้มีคำสั่งให้ถือวันอาทิตย์ที่สองของเดือนพฤษภาคมเป็นวันแม่แห่งชาติ และดอกไม้สำหรับวันแม่ของชาวอเมริกันก็คือดอกคาร์เนชั่น ซึ่งจะแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือถ้าแม่ยังมีชีวิตอยู่ให้ประดับตกแต่งบ้าน หรือประตูด้วยดอกคาร์เนชั่นสีชมพู แต่ถ้าแม่ถึงแก่กรรมไปแล้วให้ประดับด้วยดอกคาร์เนชั่น
วันแม่ในหลายส่วนของโลก
        ในหลายๆ ประเทศวันแม่ได้เลียนแบบมาจากประเพณีของทางตะวันตก ซึ่งประเทศทางแถบแอฟริกันได้นำแนวคิดวันแม่มาจากพวกคนอังกฤษ ส่วนประเทศทางแถบเอเชียตะวันออก วันแม่ได้ถูกลอกเลียนแบบแนวคิดโดยตรงมาจากวันแม่ของประเทศอเมริกา ทั้งทางด้านการตลาดและการโฆษณา
คำว่าแม่ในภาษาต่างๆ
        โดยทั่วไปคำว่า “แม่ ในแต่ละภาษามักจะใช้อักษร เหมือนกันหมด อาทิ ในภาษาอังกฤษจะเรียกว่า มาเธอร์(Mother) ภาษาสันสกฤตจะเรียกแม่ว่า มารดา ส่วนภาษาบาลีจะเรียกแม่ว่า มาตา
        ส่วนทางด้านชนชาตินั้นก็จะมีการเรียกที่ใช้ เช่นกัน โดยคนไทยจะเรียกว่า แม่ คนจีนจะเรียกว่า ม่าม๊า คนแขกจะเรียกว่า มามี๊ ส่วนคนฝรั่งเศสจะเรียกว่า มามอง
วันแม่ในประเทศต่างๆ

ประเทศไทยเริ่มมีการจัดงานวันแม่เป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2486 ณ สวนอัมพร โดยมีกระทรวงสาธารณสุขเป็นผู้จัดงาน แต่เนื่องจากช่วงนั้นเป็นช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 งานวันแม่ในปีต่อมาจึงต้องงดไปโดยปริยาย หลังจากผ่านพ้นวิกฤติสงครามไปแล้ว หลายหน่วยงานได้พยายามรื้อฟื้นให้มีวันแม่ขึ้นมาอีก แต่ก็ไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควรค่ะ และมีการเปลี่ยนกำหนดวันแม่ไปหลายครั้ง แต่กำหนดวันแม่ที่ประชาชนนิยม และเป็นที่รับรองของรัฐบาล คือวันที่ 15 เมษายน โดยเริ่มจัดมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2493 กำหนดงานวันแม่ในวันนี้ยังดำเนินต่อมาอีกหลายปี ก็ต้องมาหยุดชะงักลงอีก ด้วยเหตุผลที่ว่าสภาวัฒนธรรมแห่งชาติผู้จัดงานวันแม่ขาดผู้สนับสนุนซึ่งก็ คือกระทรวงวัฒนธรรมที่ถูกยุบไปนั่นเอง
ต่อมาสมาคมครูคาทอลิกแห่งประเทศไทยเห็นว่าควรมีการจัดงานวันแม่ต่อไป จึงได้รื้อฟื้นงานวันแม่ขึ้นมาอีกค่ะ และได้กำหนดให้จัดงานวันแม่ คือวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2515 แต่จัดได้เพียงปีเดียวก็เลิกไป จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2519 คณะกรรมการอำนวยการสภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์เห็นว่าควรกำหนดวันแม่ให้แน่นอนเสียที จึงได้กำหนดวันแม่ใหม่โดยให้ถือว่าวันเสด็จพระราชสมภพของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ วันที่ 12 สิงหาคม เป็นวันแม่แห่งชาติ และ กำหนดให้ดอกมะลิเป็นดอกไม้สัญลักษณ์ของวันแม่ตั้งแต่นั้นมา
ที่ให้ดอกมะลิ เป็นดอกไม้สัญลักษณ์ของวันแม่ ก็เนื่องจาก ดอกมะลิเป็นดอกไม้ที่มีสีขาวบริสุทธิ์ ส่งกลิ่นหอมไปไกลและหอมได้นาน อีกทั้งยังออกดอกได้ตลอดทั้งปี เปรียบได้กับความรักของแม่ที่ยังคงอยู่ตลอดไปค่ะ
ส่วนคำว่าแม่ในภาษาต่างๆ ในโลกนี้ เคยสังเกตหรือไม่คะ ว่าคำว่าแม่เกือบทุกประเทศทั่วโลก นั้นจะใช้พยัญชนะตัว ม.ม้า หรือ M
นักภาษาศาสตร์ได้ตั้งข้อสังเกตและพบว่า คำว่า แม่ ของทุกภาษานั้น มาจากการออกเสียงของเด็ก โดยคำขึ้นต้นด้วยพยัญชนะริมฝีปากคู่ (Bilabial) ได้แก่ ม , , , ถือเป็นการออกเสียงที่ง่ายที่สุดเด็กๆ มักออกเสียงกลุ่มนี้ได้ก่อนจากการเล่นริมฝีปาก ดังนั้นเมื่อเด็กออกเสียงง่าย จึงนิยมนำมาตั้งเป็นศัพท์เพื่อให้เด็กเรียกแม่กันค่ะ
คำว่าแม่ ภาษาต่างๆ
แม่ - ไทย
Mother,Mom - อังกฤษ
มารดา - สันสกฤต
มาตา - บาลี
mere,maman - ฝรั่งเศส
mutter - เยอรมัน
madre - สเปน / อิตาลี
Mae - โปรตุเกส
โอกาซัง - ญี่ปุ่น (อันนี้แหวกแนว)
ออมมา - เกาหลี
อีแม - ลาว 
กุนแม - เขมร 
ม๋อเปะ - โซ่
มาม่า - มาเลย์
มิง - มลายูดารัด
อุมมี - อาหรับ
ชนเผ่าปกากะญอ - โม่
ชนเผ่าอาข่า - อะมา
มุสลิม - มะ
ถึงเดือนนี้จะเป็นเดือนของวันแม่ แต่ไม่ได้หมายความว่า เราจะรักแม่แค่วันเดียวนะคะ ความรักที่แม่ให้เรานั้นมีทุกวัน ดังนั้นเราควรกตัญญูต่อท่านทุกวัน
ขอเอาข้อความของคุณโน๊ต อุดม มากล่าวปิดท้ายนะคะ
แม่ไม่ใช่ยาคูลย์ ควรกตัญญูก่อนหมดอายุ

ขอขอบคุณข้อมูลจาก

1 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ16 สิงหาคม 2553 เวลา 01:23

    แม่เรามีแค่คนเดียวโปรดแลเหลียวท่านบ้าง อย่าปล่อยทิ้งปล่อยขว้างให้อ้างว้างเดียวดาย ขอฝากให้คิดนะครับ

    ตอบลบ