วันเสาร์ที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2554

ภูมิ ๔

กามาวจรภูมิ                  ชั้นท่องเที่ยวอยู่ในกาม

                        รูปาวจรภูมิ                    ชั้นท่องเที่ยวอยู่ในรูป

                        อรูปาวจรภูมิ                  ชั้นท่องเที่ยวอยู่ในอรูป

                        โลกุตตรภูมิ                    ชั้นพ้นจากโลก

           ภูมิ  ในที่นี้หมายถึงที่เกิดและที่อยู่ของสิ่งมีชีวิตทั้งหลาย  แบ่งออกเป็น ๔ ภูมิ  คือ

           .  กามาวจรภูมิ  ภูมิที่สัตว์ยังเกี่ยวข้องในทางกามอยู่  มีระดับความหยาบ  ละเอียดตามลำดับดังนี้

                        .  อบาย  คือภูมิที่หาความเจริญมิได้มี ๔ คือ

                                    .  นิรยะ นรก

                                    .  ดิรัจฉานโยนิ  กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน

                                    .  ปิตติวิสัย  ภูมิแห่งเปรต

                                    .  อสุรกาย  พวกอสุรกาย

                        .   มนุษยโลก  คือโลกมนุษย์

                        .  สวรรค์ชั้นกามาวจร ๖ ชั้น  คือ

                                    . จาตุมหาราชิกา  มีท้าวจาตุมหาราชทั้ง ๔ เป็นใหญ่

                                    .  ดาวดึงส์  มีท้าวสักกะเทวราชเป็นใหญ่

                                    .  ยามา มีท้าวสุยามเป็นใหญ่

                                    .  ดุสิต  มีท้าวสันดุสิตปกครอง          

.  นิมมานรดี มีท้าวสุนิมมิตปกครอง

                                    .  ปรนิมมิตวสวัดดี มีท้าวปรนิมมิตวสวัดดีปกครอง

           .  รูปาวจรภูมิ  เป็นภูมิของพรหมมีรูป  พวกนี้ไม่มีการเสพกามเกิดขึ้นด้วยอำนาจ  " ฌาน "  ที่ท่านเหล่านั้นได้บรรลุในชาติที่เป็นมนุษย์เรียงจากชั้นต่ำไปหาชั้นสูงดังนี้

              .  พรหมปริสัชชา  พรหมบริษัทของมหาพรหม

              .๒ พรหมปุโรหิตา  พรหมปุโรหิตของมหาพรหม

              .  มหาพรหมา  พวกท้าวมหาพรหม

พรหม ๓ ชั้นนี้  เกิดด้วยผลแห่งปฐมฌาน  เรียกว่าปฐมฌานภูมิ

              .  ปริตตาภา  พรหมพวกมีรัศมีเพียงเล็กน้อย

              .  อัปปมาณาภา  พรหมพวกนี้รัศมีมีประมาณมิได้

              .  อาภัสสรา  พรหมมีรัศมีเปล่งปลั่ง  ซ่านไป

พรหม ๓ ชั้นนี้  เกิดด้วยผลแห่งทุติยฌาน  เรียกว่า  ทุติยฌานภูมิ

              .  ปริตตสุภา พวกมีลำรัศมีงามน้อย

              .  อัปปมาณสุภา  พวกมีลำรัศมีงามหาประมาณมิได้

              .  สุภกิณหา  พวกมีลำรัศมีงามเจิดจ้า

พรหม ๓ ชั้นนี้  เกิดด้วยผลแห่งตติยฌาน  เรียกว่าตติยฌานภูมิ

              .๑๐  เวหัปผลา  พวกมีผลไพบูลย์

              .๑๑  อสัญญีสัตตา  พรหมไม่มีสัญญา  คือมีแต่รูปเรียกว่าพรหมลูกฟัก

พรหม ๒ ชั้นนี้เกิดด้วยผลแห่งจตุตถฌาน ในที่บางแห่งบอกว่าอสัญญีสัตตา เป็นพรหมที่เคยเป็นนักบวชนอกพระศาสนา  บำเพ็ญฌานเกิดความเบื่อหน่ายในจิต  จึงเกิดเป็นพรหมที่ไม่มีจิตใจ  หรือไม่มีสัญญา

              .๑๒  อวิหา  ท่านผู้ไม่ไปเร็ว  หรือดำรงอยู่ได้นาน

              .๑๓  อตัปปา  ท่านผู้ไม่เดือดร้อนกับใคร ๆ

              .๑๔  สุทัสสาท่านที่ปรากฏโดยง่าย  ผู้น่าชม

              .๑๕  สุทัสสี ท่านผู้เห็นโดยง่าย  เห็นชัด

              .๑๖  อกนิฏฐา  ท่านผู้ไม่มีความด้อย  หรือท่านผู้สูงสุด

พรหมโลก ๕ ชั้นนี้  เป็นที่เกิดของท่านผู้ได้บรรลุมรรคผล  เป็นพระอนาคามีบุคคลท่านจึงเรียกว่า  สุทธาวาส  แปลว่าเป็นที่อยู่ของท่านผู้บริสุทธิ์  การมีรูปฌานแต่ละข้อ  แบ่งพรหมให้สูงต่ำแตกต่างกันเป็นเพราะคุณภาพของฌานที่มี ต่ำ  กลาง  สูงสุด  ผลฌานจึงเป็นผู้แบ่งให้พรหมเกิดในชั้นต่าง ๆ  กัน  แม้จะได้บรรลุฌานเหมือนกันก็ตาม

           .  อรูปาวจรภูมิ  ชั้นที่ท่องเที่ยวในอรูป  เกิดจากระดับจิตที่ปรารภอรูปเป็นอารมณ์  เป็นผลแห่งอรูปฌานที่ท่านเหล่านั้นได้บรรลุ  ทำให้ท่านไปเกิดในอรูปภพ  ซึ่งมีชื่อเหมือน  " อรูปฌาน " คือ

           .  อากาสานัญจายตนภูมิ ชั้นเข้าถึงภาวะมีอากาศไม่มีที่สิ้นสุด

           .  วิญญาณัญจายตนภูมิ ชั้นที่เข้าถึงภาวะวิญญาณหาที่สุดมิได้

           .  อากิญจัญญายตนภูมิ ชั้นที่เข้าถึงภาวะไม่มีอะไร  หรือมีเล็กน้อย

           .  เนวสัญญานาสัญญายตนภูมิ ภูมิที่เข้าถึงภาวะมีสัญญาก็มิใช่ไม่มีสัญญาก็มิใช่

อายุของเทวดา  แตกต่างจากมนุษย์  ดังที่ทรงแสดงไว้ว่า

อายุของมนุษย์ ๕๐ ปี  เท่ากับอายุของเทวดาชั้นจาตุมหาราช ๑ วันฉะนั้น  อายุเฉลี่ยของเทวดาชั้นนี้  คือ  ,๐๐๐  ปีทิพย์  สวรรค์ชั้นดาวดึงส์

           อายุมนุษย์ ๑๐๐ ปีเท่ากับวัน ๑ คืน ๑ ของเทวดาชั้นดาวดึงส์

           อายุมนุษย์ ๒๐๐ ปีเท่ากับวัน ๑ คืน ๑ ของเทวดาชั้นยามา

           อายุมนุษย์ ๔๐๐ ปีเท่ากับวัน ๑ คืน ๑ ของเทวดาชั้นดุสิต

           อายุมนุษย์ ๘๐๐ ปีเท่ากับวัน ๑ คืน ๑ ของเทวดาชั้นนิมมานรดี

           อายุมนุษย์ ๑,๖๐๐ ปีเท่ากับวัน ๑ คืน ๑ ของเทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัตดี

           เพราะฉะนั้น ทั้งอายุ  วรรณะ  สุขะ  พละ  อธิปไตย  เป็นต้น จึงเหนือกว่ากัน  และสิ่งที่ทำให้เหนือกว่ากันก็คือ  บุญกุศลที่บุคคลเหล่านั้นสร้างไว้ในอดีตชาตินั้น ๆ  แตกต่างกัน  พื้นฐานทางจิตจึงต่างกัน เมื่อพื้นฐานทางจิตต่างกัน  ก็จำแนกภพให้แตกต่างกัน  เหมือนกับคนที่มีความรู้  ได้ศึกษาเล่าเรียนมาแตกต่างกัน  เวลาไปทำงาน ก็ต้องจำแนกหน้าที่การงานให้แตกต่างกันนั้นเอง